โครงการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ ในระบบสุขภาพเพื่อสังคมสุขภาวะผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
หน่วยงานดำเนินการ : กองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
หน่วยงานสนับสนุน : สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ความสอดคล้องกับแผนหลัก กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 2561–2564
- พัฒนาขีดความสามารถของบุคคลและองค์กรให้เท่าทันพลวัตของปัจจัยต่าง ๆ ที่กระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งให้มีขีดความสามารถในการท างานเชิงรุก ทั้งเป็นงานเฉพาะด้านและการบูรณาการเชื่อมโยงข้ามภาคส่วนในการสร้างเสริมสุขภาพในองค์กรและชุมชน
- ส่งเสริมการพัฒนาและขยายเครือข่ายองค์กรสาธารณะเพื่อเป็นพื้นที่รองรับงานสร้างเสริมสุขภาวะของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- สนับสนุนการพัฒนานโยบายที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรและผลักดันสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดความยั่งยืน
- สนับสนุนการให้คณะสงฆ์และองค์กรภาคีเครือข่ายได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดการความรู้เพื่อสร้างการรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาวะขององค์กรและเพื่อให้มีการสื่อสารและขยายผลแนวคิดการสร้างเสริมองค์กรสุขภาวะในวงกว้าง ตลอดจนประเมินความคุ้มทุนได้
- สนับสนุนการพัฒนาระบบและกลไกการทำงานและบริหารจัดการภายในองค์กรที่ส่งผลต่อสุขภาวะของคณะสงฆ์ ชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในองค์กร
ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา
- สร้างความมั่นคงด้านพระพุทธศาสนาด้วยการพัฒนาศักยภาพศาสนทายทายาท ศาสนบุคคล เพิ่มขีดความสามารถพระสังฆาธิการ ซึ่งถือว่าได้ช่วยยังความมั่นคงให้กับพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง
- ยกระดับกระบวนการบริหารจัดการภายใน พัฒนาระบบกลไกการทำงานคณะสงฆ์ โดยการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) องค์กรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และประชาสังคม พัฒนาโครงการ กิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของสังคม เพื่อร่วมสร้างสังคมสุขภาวะ
- พัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้เชิงพุทธ โดยเน้นกระบวนการเพิ่มขีดความสามารถศาสนบุคคลอย่างต่อเนื่องตลอดปี มีแผนแม่บทในการท างานเชิงยุทธศาสตร์และเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาได้
- มีทรัพยากรเพียงพอในการขับเคลื่อนกิจการพระพุทธศาสนา โดยการบริหารศาสนสมบัติอย่างมีประสิทธิภาพให้ต้นทุนที่มีเช่น อาคารสถานที่ ต้นทุนศรัทธา นำมาบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และมีแนวทางในการจัดหาแหล่งงบประมาณเพิ่มเติมมาสนับสนุนกิจการพระพุทธศาสนา