“มจร สสส.จับมือสช. พัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ หวังเป็นแกนนำใช้นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมโดยเครื่องมือธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ ขับเคลื่อนเสริมสร้างสุขภาวะองค์กรสงฆ์และชุมชน”

วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เวลา 08.30-16.30 น. โครงการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในระบบสุขภาพเพื่อสังคมสุขภาวะผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สนับสนุนโดย สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดพัฒนาศักยภาพแกนนำเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมโดยเครื่องมือธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ในเครือข่ายพระสงฆ์ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom mitting กิจกรรมดังกล่าวเป็นความร่วมมือดำเนินการ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ โดยสำนักขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การนี้มีพื้นที่กลุ่มเป้าหมายจำนวน 8 กลุ่มพื้นที่ซึ่งเป็นกลุ่มที่จัดทำโครงการเข้าถึงกองทุนฯและดำเนินการโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย (1) วัดหนองกระดูกเนื้อ นครสวรรค์ (2) วัดวุฒิมงคล(ร้องแหย่ง) แพร่ (3) วัดป่าสิริสมบัติ ขอนแก่น (4) วัดชนาธิปเฉลิม สตูล (5) วัดอรุณรุ่งดิลกรัตน์ พิจิตร (6) ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพวิถีพุทธวัดไผ่รอบ จ.พิจิตร (7) วัดวรนาถบรรพต จ.นครสวรรค์ (8)วัดสว่างสุวรรณาราม จ.นครพนม กิจกรรมเริ่มต้นโดยการกล่าวเปิดการประชุม ชี้แจงวัตถุประสงค์ และเป้าหมายสำคัญของการประชุมโดย ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หลังจากนั้น นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวถึงการทิศทาง ความเชื่อมโยง การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมโดยเครื่องมือธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น โดยพระสงฆ์และภาคี
หลังจากนั้นเป็นการประชุมกลุ่มยอ่อย 4 กลุ่มย่อยเพื่อแชร์บทเรียน ผลสำเร็จการขับเคลื่อนสุขภาวะพระสงฆ์ โดยมี 4 โจทย์ย่อย คือ (1) ผลความสำเร็จการดำเนินการในพื้นที่ (เบื้องหลัง/เป้าหมายของการทำโครงการ /ทำไมลือกทำโครงการนี้ ) อะไรคือสิ่งที่ทำสำเร็จและยังทำอยู่ อะไรที่ยังทำไม่สำเร็จ และอยากปรับปรุงให้ดีขึ้น (2) วิธีการดำเนินการ / ผู้ที่เกี่ยวข้อง /เครื่องมือที่ใช้ มีอะไรบ้าง (3) ปัจจัยสำเร็จที่เกิดขึ้น เกิดได้อย่างไร (4) การพัฒนาต่อยอดสู่ความยั่งยืน การกำหนดเป้าหมายของการดำเนินงาน และผลลัพท์ที่ต้องการ วิธีการดำเนินงาน ทำโดยใคร วัดผลความสำเร็จอย่างไร โดยได้รับความกรุณาจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ โดยสำนักขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่เป็นวิทยากรกลุ่มย่อย ในช่วงบ่ายมีการประชุมกลุ่มย่อย 8 กลุ่ม เพื่อแชร์บทเรียน ผลสำเร็จการขับเคลื่อนสุขภาวะพระสงฆ์ และวางแผนการทำงานโดยมีโจทย์ย่อย คือ แผนการทำงาน (จังหวะก้าว/ แผนการดำเนินงาน / การหนุนเสริม) หลังจากนั้นมีการนำเสนอนำเสนอ รายกลุ่มละๆ 15 นาที เติมเต็มและให้ข้อเสนอแนะโดย พระครูพิพิธสุตาทร,ดร. อาจารย์ประจำบัณฑิตศึกษา มจร วข.เชียงใหม่และพระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต และปิดกิจกรรมโดย พระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต