ประกาศ “ปฏิญญากรุงเทพมหานคร” การประชุมวิสาขบูชานานาชาติ ครั้งที่ 18
พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก กล่าวว่า สมเด็จพระสังฆราช ประมุขสงฆ์ ผู้นำชาวพุทธจาก 55 ประเทศทั่วโลก ที่เดินทางมาร่วมประชุม และเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ 18 ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 1-2 มิ.ย. ที่ผ่านมานั้น ได้ร่วมกันประกาศปฏิญญากรุงเทพมหานคร เนื่องในการประชุมวิสาขบูชานานาชาติ ครั้งที่ 18 ระบุว่า 1. ตระหนักถึงความทุกข์จากวิกฤตของโควิด และความขัดแย้งจากการใช้อาวุธในโลกทั้งหมด และเพื่อส่งเสริมให้ชาวพุทธจากทุกภาคส่วนเผยแพร่คําสอนที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของพระพุทธเจ้าในเส้นทางที่สามารถฟื้นฟูตัวเราเพื่อรับมือกับความขาดแคลนด้วยความเอื้ออาทร และความไม่สงบทางสังคมด้วยความเข้าใจการใช้ขันติธรรม 2.ขอเรียกร้องให้รัฐบาลในโลก ปฏิบัติอย่างจริงจังและส่งเสริมความตระหนักในการพึ่งพาซึ่งกันและกัน เพื่อยุติความขัดแย้งทางสังคมและการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวพุทธของโลก พยายามส่งเสริมสันติภาพและสมานฉันท์ทั่วโลก โดยประยุกต์ใช้คําสอนทางพุทธศาสนาด้านการให้อภัย อหิงสา มีเมตตา ขันติธรรม และต่อต้านตัณหา ความโกรธ อวิชชา เพื่อสร้างสังคมคุณธรรม
พระพรหมบัณฑิต กล่าวต่อไปว่า 3.สนับสนุน Dinesh Gunawardena นายกรัฐมนตรีศรีลังกา ในการกล่าวสุนทรพจน์ ถึงวิกฤติโลกหลายปัจจัย ความท้าทายหลังโควิด ในช่วงเวลาแห่งความขาดแคลนนี้ การตอบสนองทางพุทธศาสนาที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ในทางสายกลาง (Majjhima Patipada) และพระพุทธศาสนาสามารถนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้นได้ 4.เพื่อส่งเสริมความสงบทางจิตใจและปัจเจกบุคคลโดยการเผยแพร่การฝึกสมาธิทางพุทธศาสนาทั่วโลก 5.เพื่อคงไว้การมองโลกในแง่ดี ในความคิดที่ว่าปัญหาของโลกดูเหมือนจะเป็นเรื่องยุ่งยาก ทั้งนี้ ไม่ใช่เป็นเพราะปัญญา แต่เป็นเพราะเรามองหาวิธีแก้ปัญหาที่ผิด พระพุทธศาสนามองข้ามความคิดที่ผิดๆ และแทนที่ด้วยการนําเราไปในทิศทางของการปฏิบัติและแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากความเข้าใจในธรรมชาติของความไม่เที่ยงและการเปลี่ยนแปลง 6.ให้ความเคารพต่อสรรพสิ่งทั้งหลายรวมถึงสัตว์และพืชซึ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ที่ใกล้ชิดและผูกพันโดยตรงกับมนุษย์ 7.แสดงความนับถืออย่างสูงสุดสำหรับโครงการแปลพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ซึ่งเป็นการแปลพระไตรปิฎกบาลีเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อน้อมรำลึกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
พระพรหมบัณฑิต กล่าวอีกว่า 8. เพื่อส่งเสริมคุณค่าในการชื่นชมและเคารพต่อประเพณีทางศาสนาและจิตวิญญาณ เป็นขั้นตอนที่นำไปสู่ความสามัคคีในสังคมและพัฒนาเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับใช้ชีวิตร่วมกัน โดยที่ความสามัคคีไม่ได้กีดกันความแตกต่าง ขณะที่ความแตกต่างไม่ได้กีดกันความเข้าใจและความเคารพ 9.เพื่อยกย่องผู้เข้าร่วมในเวทีสัมมนาวิชาการทั้ง 3 เวที ในหัวข้อ “พุทธปัญญากับการรับมือวิกฤติโลก” 10. เพื่อส่งเสริมการตื่นตัวร่วมกันในการตอบสนองต่อวิกฤติการณ์ทางนิเวศวิทยาและความเสื่อมโทรมของสภาพอากาศ การสอนไม่ให้ใช้ความรุนแรง (อหิงสา) และการสอนความเห็นอกเห็นใจกันขยายไปถึงระบบนิเวศ เพื่อผสมผสานภูมิปัญญาดั้งเดิมและเทคโนโลยีในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 11. เราบันทึกความสำเร็จของผลงานที่ได้รับการยกย่องในระดับสากลของคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติภายใต้นายกรัฐมนตรีของไทย 12. คำนึงถึงความไม่แน่นอนของชีวิตในช่วงโรคระบาด โดยเน้นความเชื่อมโยงระหว่างการดูแลทางจิตวิญญาณและมนุษยธรรม ความต้องการทางวัตถุ ตลอดจนกลไกทางเศรษฐกิจในโลกหลังโควิด…
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/2397927/