มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้บริหารระดับสูง มจร และคณะสงฆ์ไทย ร่วมประชุม The sixth World Buddhist Forum ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน

  ผู้บริหารระดับสูง มจร และคณะสงฆ์ไทย ร่วมงาน The sixth World Buddhist Forum

ระหว่างวันที่ 14 – 17 ตุลาคม 2567 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน

 

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2567 ผู้บริหารระดับสูง ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และคณะสงฆ์ไทย อาทิ พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร., กรรมการมหาเถรสมาคม อุปนายกสภามหาวิทยาลัย ในนามคณะสงฆ์ไทย,

       ในการนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ได้มีพระบัญชาโปรดให้ พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นผู้แทนพระองค์และเข้าร่วมในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม พร้อมประทานสาส์นให้พระพรหมบัณฑิต เชิญไปอ่านในการประชุมดังกล่าว ความว่า
           “เนื่องในการประชุมสมัชชาพุทธศาสนาโลกครั้งที่ ๖ ในนามพุทธบริษัทไทย ขอแสดงไมตรีจิตและส่งความ ปรารถนาดีมายังพระเถรานุเถระ และสาธุชนทุกท่านผู้มาประชุมพร้อมเพรียงกัน เพื่อสร้างสรรค์วิถีและวิธีแห่งการ “จับมือกันเพื่อการอยู่ร่วมกัน” อันเป็นหัวข้อหลักของการประชุมในวาระนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระมหากรุณาประทานหลัก “สาราณียธรรม” ไว้เพื่อส่งเสริมความเป็น เอกภาพ ความเคารพซึ่งกันและกัน และความสมัครสมานสามัคคีท่ามกลางความหลากหลายของสรรพชีวิต
มหันตภัยแห่งความแตกแยกบาดหมางในโลกที่กำลังรุนแรงขึ้นทุกขณะ อาจเป็นเครื่องเตือนใจมนุษยชาติ ให้ตระหนักถึงคุณค่าของสาราณียธรรม ซึ่งประกอบด้วยความเมตตาในกาย วาจา และใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น ความเมตตาโดยจริงใจ ปราศจากมารยาสาไถยดังนี้ ย่อมเกื้อกูลสันติภาพและมิตรภาพอันแท้จริง นำไปสู่การเอื้อเฟื้อ แบ่งปันแก่กันเป็นสาธารณโภคี มุ่งประพฤติดีด้วยกายและวาจาเป็นปรกติเพื่อหลีกเลี่ยงการข่มเหงเบียดเบียน พากเพียร ปรับทัศนคติให้สอดคล้องต้องตรงกันสู่หนทางดับทุกข์ สาราณียธรรมนี้จัดเป็นธรรมะหน่วงรั้งสภาวการณ์โลก อันทรุดโทรมและคลอนแคลน ให้กลับสดใสและเข้มแข็งได้ด้วยเอกภาพ ครอบคลุมทั้งกระบวนการและเป้าหมายอย่างสมบูรณ์
          สันติธรรมในพระพุทธศาสนา จึงหาใช่เพียงการไม่วิวาทขัดแย้งกัน หากแต่ยังต้องดำรงมั่นบนความยุติธรรม การุณยธรรม และสติปัญญาอันถูกแท้ตามทางสัมมาทิฐิอีกด้วย หากบุคคลปรารถนาสันติธรรม ย่อมต้องแสวงหา สามัคคีธรรมเป็นบาทฐาน และหากประสงค์จะให้สามัคคีธรรมบังเกิด ก็จำเป็นที่ทุกคนทุกฝ่ายจักต้องเรียนรู้ อบรม และประพฤติสาราณียธรรมเป็นเงื่อนไขตั้งต้นให้ได้ก่อน เพื่อความเข้มแข็งและความผาสุกของส่วนรวมจักปรากฏขึ้น มีขึ้นได้อย่างยั่งยืน
       ขอให้การประชุมสมัชชาพุทธศาสนาโลกครั้งที่ ๖ หัวข้อ “จับมือกันเพื่อการอยู่ร่วมกัน” บรรลุวัตถุประสงค์ อันดีงามที่ตั้งไว้ทุกประการ คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวไทย ขอร่วมแผ่สาราณียธรรมมาย้ำเตือนมิตรภาพ ของเราทั้งหลายผู้เป็นสมาชิกแห่งพุทธบริษัท และผู้ปรารภปรารถนาความวัฒนาสถาวรของโลกนี้ด้วยสันติธรรมโดยทั่วหน้ากัน”

 

           ในการประชุมครั้งนี้ พระพรหมวัชรธีราจารย์ ศ.ดร., อธิการบดี ได้มอบหมายให้ พระเทพปวรเมธี รศ.ดร., รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร, พระราชวัชรสารบัณฑิต รศ.ดร., รองอธิการบดีฝ่ายวางเเผนและพัฒนา, พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน ผศ.ดร., รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ, พระมหาบัณฑิต ปณฺฑิตเมธี ดร., คณบดีคณะครุศาสตร์ เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยเข้าร่วมประชุม อีกทั้งมีพระมหาเถระที่เป็นเจ้าคณะปกครองคณะสงฆ์ของไทยเดินทางไปร่วมการประชุมอีกหลายท่านเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างคณะสงฆ์ไทยและพุทธสมาคมจีนที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้

                        

  

 

 

 


      

         การเผยแพร่สันติภาพ การพัฒนา และความเจริญรุ่งเรืองไปทั่วโลกเป็นกิจกรรมร่วมกันของพุทธศาสนิกชนและมวลมนุษยชาติ วิสัยทัศน์ร่วมกันนี้จะได้รับการนำเสนอในงาน World Buddhist Forum ครั้งที่ 6 ซึ่งเริ่มขึ้นในวันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2567 ณ ภูเขาเซว่โต่วใน Ningbo มณฑลเจ้อเจียง 

             งานนี้มีธีมว่า “จับมือกันเพื่อการอยู่ร่วมกัน” มีผู้เข้าร่วมงาน 3 วัน ประมาณ 800 คนจาก 72 ประเทศและภูมิภาค ซึ่งมีเป้าหมายที่จะแสวงหาฉันทามติและแนวทางปฏิบัติเพื่อรับมือกับความท้าทายระดับโลกในโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

         พระอาจารย์หมิงไห่ รองประธานสมาคมพุทธจีน กล่าวในการแถลงข่าว

          World Buddhist Forum จะประกอบด้วยสัมมนาหลักหนึ่งรายการและการอภิปรายหลายหัวข้อ เช่น ภูมิปัญญาแห่งความครอบคลุมในพระพุทธศาสนา การนำคัมภีร์พระพุทธศาสนาไปใช้งานในรูปแบบดิจิทัล และเสน่ห์ของศิลปะพุทธศาสนา การพูดคุยจะจัดขึ้นทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมในบทสนทนาที่หลากหลายและมีพลวัตในการเจาะลึกถึงแก่นแท้ทางวัฒนธรรม ความหมายทางอุดมการณ์ และคุณค่าร่วมสมัยของพระพุทธศาสนา โดยมีการจัดนิทรรศการ การแสดงดนตรี และพิธีกรรม

          อาจารย์หมิงไห่ กล่าวว่าจะเป็นบทสนทนา “เพื่อดึงดูดไม่เพียงแค่ชาวพุทธเท่านั้น แต่รวมถึงคนทั่วโลกในการสื่อสารเกี่ยวกับวิธีการโต้ตอบเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน และระหว่างผู้คนกับธรรมชาติ เพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน”

   

 

World Buddhist Forum จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2549 ที่เมืองหางโจวและโจวซาน ซึ่งทั้งสองเมืองตั้งอยู่ในเจ้อเจียง ฟอรั่มนี้มุ่งหวังที่จะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มที่เท่าเทียม หลากหลาย และเปิดกว้างสำหรับการสนทนาระดับสูงสำหรับผู้ที่หวงแหนโลก ดูแลสรรพสัตว์ทุกตัว ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา และแสดงความเมตตากรุณา

 

          เมืองหนิงปัวเป็นท่าเรือสำคัญตามแนวชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งเป็นจุดที่เกษตรกรรมมาบรรจบกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในฐานะที่เป็นท่าเรือสำคัญแห่งหนึ่งของเส้นทางสายไหมทางทะเล เมืองนี้ยังเป็นประตูสู่การแลกเปลี่ยนระหว่างชาวจีนกับโลกภายนอกอีกด้วย

 

    ประวัติศาสตร์อันยาวนานและอุดมสมบูรณ์ของหนิงปัวนั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านทรัพยากรทางวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงวัดเก่าแก่หลายศตวรรษ เช่น วัดเซว่โต่ว ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาเซว่โต่ว

 

ขอบคุณสำนักข่าว chinadaily

72 nations take part in World Buddhist Forum

Spreading peace, development and prosperity around the world are common pursuits for Buddhists and all humanity. This shared vision will be illustrated at the Sixth World Buddhist Forum, which begins on Tuesday at Mount Xuedou in Ningbo, Zhejiang province.

Themed “Hand in Hand for Coexistence”, the three-day event will be attended by some 800 participants from 72 countries and regions who aim to seek consensus and practical approaches to address global challenges in an ever-evolving world, said Venerable Master Minghai, vice-president of the Buddhist Association of China, at a news conference ahead of the forum on Monday in Ningbo.

The forum will include one main seminar and several side discussions on topics such as the wisdom of inclusiveness in Buddhism, the digitalization of Buddhist scriptures and the charm of Buddhist art. The talks will be held both offline and online to increase participation in the dialogue.

The forum will serve as a diverse and dynamic platform to delve into the cultural essence, ideological significations and contemporary value of Buddhism, featuring exhibitions, music performances and ceremonies.

Minghai said it will be a dialogue “to engage not only Buddhists but also all members of the world to communicate on ways of interaction to improve relations between people, and between people and nature, so as to realize harmonious coexistence”.

The World Buddhist Forum was first held in 2006 in Hangzhou and Zhoushan, both in Zhejiang. It aims to serve as an equal, diverse and open platform of high-level dialogue for those who cherish the world, care for all sentient beings, espouse Buddhism and embody compassion.

Ningbo is a vital port along the southeastern coast of China where agriculture meets aquaculture. As one of the key ports of the Maritime Silk Road, it is also a gateway for Chinese to conduct exchanges with the world.

The long and rich history of Ningbo is vividly exemplified by it cultural resources, including centuries-old temples such as the Xuedou Temple, which is situated at Mount Xuedou.