มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

” การเทศน์ป้องกันตามแนวทางการทุจริตตามแนวทางพระพุทธศาสนา ” โดย…พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. อธิการบดี

3,201

 

” หิริโอตัปปะและศีล ๕ หลักธรรมป้องกันการทุจริต : มิติการป้องกันสำคัญกว่าการปราบปราม : มหาจุฬาเป็นต้นแบบการส่งเสริมการป้องกันการทุจริต : องค์ในหลวงต้นแบบผู้ปฏิบัติตามสุจริตธรรม ”

13939558_1598976557067693_3052161756111441707_n 13924994_1598977137067635_7982106940960564030_n

 

 

มหาจุฬาฯ เทศน์ ” สุจริตกถา ”

กล่าวว่า….มหาจุฬาร่วมกับสำนักงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ การจัดงานครั้งนี้เพื่อเป็นโอกาสสำคัญในการแสดงถึงความกตัญญูต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งสองพระองค์ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม โดยมีพระปฐมบรมราชองค์การว่า… “เราจะครองแผ่นโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” คำว่า “โดยธรรม” หมายถึง “สุจริตธรรม” พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเรื่องสุจริตธรรมครั้งแรกให้พระเจ้าสุทโทธนะ มีหน้าที่ด้วยความสุจริต มี ๓ ประการ ๑.”ไม่บกพร่องต่อหน้าที่” ทำหน้าที่ตนเองให้ที่สุด ร้องให้สุดคำ รำให้สุดแขน ทำให้ดีที่สุด ทำอะไรอย่าให้บกพร่อง ๒.”ไม่ละเว้นต่อหน้าที่” ผู้เป็นบิดามารดาไม่ละทิ้งหน้าที่ในการสั่งสอนบุตรของตน เพราะถ้าบุตรเป็นโจร บิดามารดาย่อมมีส่วนโจรด้วยเพราะไม่สั่งสอนบุตร ๓.”ไม่ทุจริตต่อหน้าที่” ไม่ใช้หน้าที่ของตนในการทำการทุจริต รวมถึงทรัพย์สินเงินทอง ใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลไม่ควรประพฤติหน้าที่ให้ทุจริต” อาณาจักรหรือประเทศจะล้มสลายถ้ามีการทุจริต กล่าวว่า… ” สนิมเกิดแต่เหล็ก จะกัดกินเหล็ก ” ซึ่งสภาพในสังคมไทยปัจจุบันมีการทุจริตจำนวนมากเป็นสนิทร้ายต่อประเทศ ลักษณะมือใครยาว สาวได้สาวเอา มีการแย่งอาหารกันกิน แย่งถิ่นกันอยู่ แย่งคู่กันพิศวาส แย่งอำนาจกันเป็นใหญ่ นำไปสู่การขาดความสามัคคีในประเทศชาติ เป็นการละเมิดศีล ๕ ในข้อที่ ๒ คือ ถือเอาสิ่งของจากเจ้าของท่านไม่ได้ให้ ควรงดเว้นด้วยวิรัติ ถือว่าเป็นการงดเว้น ต้องมีหิริ ความละอายแก่ใจ การส่งเสริมในเรื่องศีล ๕ ของมหาเถรสมาคม จึงเป็นการต่อต้านการทุจริตนั่นเอง
สมัยอดีตก็มีการทุจริต ทนันชาณิพราหมณ์มีการปล้นพระราชา ฉ้อราษฏร์บังหลวง อ้างพระราชาปล้นประชาชน อ้างว่าจะไปช่วยเหลือประชาชน แต่กลับเอาไปใช้ส่วนตัว อ้างว่าเอาเงินไปเลี้ยงบิดามารดา บุตร และ ณ สวนสัตว์แห่งหนึ่งมีการทุจริตต่อหน้าที่ ในการเลี้ยงเสือ ประชาชนมาดูเสือทำไมเสือไม่อ้วน เสือผอม ทำไมเสือผอมเป็นการตั้งคำถามของประชาชน เพราะอาหารเสือโดนเบียดบัง ผู้อำนวยการสวนสัตว์ส่งผู้ตรวจการ ๓ คน มาตรวจทุจริตทั้ง ๓ คน จึงมีโครงโลกนิติว่าด้วยว่า “เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อมังสา” กล่าวว่า…
เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อ มังสา
นายหนึ่งเลี้ยงพยัคฆา ไป่อ้วน
สองสามสี่นายมา กำกับ กันแฮ
บังทรัพย์สี่ส่วนถ้วน บาทสิ้นเสือตาย
เสือ หมายถึง ประเทศชาติ รวมถึงประชาชนในชาติ ผู้นำรัฐ ข้าราชการ ต้องประพฤติสุจริตธรรม ประเทศถึงจะอยู่รอด การทุจริตทำมากมาย ไม่ว่าจะเป็นซื้อสิทธิ์ขายเสียง ก็ถือว่าเป็นการทุจริต สหประชาชาติจึงประกาศให้วันที่ ๙ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันต่อต้านการทุจริตของโลก ประชาชนต้องไม่สนับสนุนการทุจริต ธรรมะที่คุ้มครองโลกคือ”หิริและโอตัปปะ” เป็นธรรมะที่ให้มนุษย์ประเสริฐกว่าสัตว์ เป็นธรรมะฝ่ายขาวคุ้มครองโลก หิริ หมายถึง ความละอายต่อบาป ต่อความชั่วทั้งหลาย ไม่นำร่างกายไปเปื้อนกับความสกปรก คำว่า โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อบาป เปรียบเหมือน ถ่านไฟ อย่าได้ไปเข้าใกล้มันร้อน เมื่อหิริโอตตัปปะมีอยู่โลกจะสามารถอยู่รอดและปลอดภัย
การงดเว้นการทุจริตก็ต่อเมื่อมีธรรมะ คือ “หิริและโอตตัปปะ” เป็นหลักธรรมป้องกันการทุจริต เพราะเมื่อละอายแก่ใจ ดังคำกล่าวว่า” อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ” เหมือนนางขุตชุตรา เป็นนางสาวใช้ของพระนางสามวดี เบิกเงินไปซื้อดอกไม้ แต่ซื้อเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เธอได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ทำให้กลับตัวกลับใจ มีความหิริภายในใจ เธอพยามสร้างอริยทรัพย์เป็นทรัพย์ภายใน ” ความรู้จักพอเป็นยอดแห่งทรัพย์ ” เศรษฐกิจพอเพียงขององค์ในหลวง ถือว่าเป็นการป้องกันการทุจริต คือ ให้เรารู้จักพอ เพียงพอ ประมาณตนเอง ในการบริหารชีวิต เพราะถ้าไม่พอก็เกิดความโลภ
โอตัปปะเป็นความกลัว กลัวต่อการกฎหมายลงโทษอย่างมีประสิทธิภาพ กลัวต่อการตกนรก คนสมัยโบราณกลัวการทุจริต กลัวต่อผลบาปการทุจริต จึงยึด “ทำได้ดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” เราปฏิบัติสุจริตย่อมมีชีวิตที่มีความสุขในโลกนี้และโลกหน้า มีพราหมณ์คนหนึ่งสมัยพระเจ้าโกศล เขาทดลองว่า ถ้าประพฤติทุจริตจะเป็นอย่างไร? ด้วยการหยิบเหรียญวันละ ๑ เหรียญ ทำเรื่อยๆ และหยิบเป็นกำมือ จนคนตะโกนว่าจับโจร พระราชาถามว่าทำไมถึงทำแบบนี้ พราหมณ์ตอบว่า เป็นการทดลองการประพฤติผิดว่าจะเป็นอย่างไร พราหมณ์จึงออกบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้า
องค์ในหลวงของเรารักเป็นแบบอย่างที่ดีในการประพฤติสุจริตธรรม จะทำให้ประเทศของเรามีความ ” มั่นคง มั่งคั่ง และสันติสุข ” สืบไป

สรุปสาระสำคัญ
โดย…พระปราโมทย์ วาทโกวิโท
นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาจุฬา
ผ่านการถ่ายทอดสด
๘ สิงหาคม ๒๕๕๙

“การป้องกันการทุจริต”
ปาฐกถาโดย…พลเอกวัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.

กล่าวว่า…ประเทศไทยมีการทุจริตเชิงโครงสร้างตามนโยบาย เป็นการฝังรากลึกมากในสังคมไทย จนมีการยอมรับว่า ถ้าตนเองได้รับผลประโยชน์ด้วยก็ทุจริตได้เลย มีคำกล่าวจากนานาชาติว่า ” ถ้าประเทศไทยหยุดการทุจริตจะมีความเจริญเท่ากับนานาประเทศเป็นอย่างมาก” สหประชาชาติ จึงยก วันที่ ๙ ธันวาคม เป็นวันต่อต้านการทุจริต มีหน่วยงานต่อต้านการทุจริตมากมาย
มิติการปกป้องการทุจริตมีความสำคัญมากกว่ามิติการปราบปรามการทุจริต ในเรื่องการปราบปรามเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่จริงจัง รวดเร็ว ยุติธรรม ทำให้เกิดความเกรงกลัวต่อการทำผิด ปัจจุบันนี้มีคดีในสำนักงานป.ป.ช. จำนวน ๒,๐๐๐ กว่าคดี ที่เกี่ยวกับการทุจริต คดีที่กล่าวหากันมีจำนวน ๑๐,๐๐๐ คดี การปราบปรามมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้น
แต่การแก้ไขปัญหาการทุจริตที่ได้ผล คือ “…การให้การป้องกันและให้การศึกษา ปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้อง…” ต้องอาศัยภาคศาสนา ภาคการศึกษา มหาจุฬาถือว่าเป็นสถาบันที่มีความสำคัญในการให้การศึกษาและศาสนาควบคู่กัน เพราะมหาจุฬามีการบูรณาการพระพุทธศาสนาเข้ากับสังคมเป็นอย่างดี การทุจริตจะหมดไปต้องอาศัยการป้องกันมากกว่าปราบปราม เราต้องให้การศึกษาที่ถูกต้อง งบประมาณในการต่อต้านการทุจริตมีจำนวนมาก แทนที่จะนำมาพัฒนาประเทศ เราจึงสร้างภาคีเครือข่าย โดยมีมหาจุฬาเป็นเครือข่ายที่สำคัญยิ่ง เพราะมหาจุฬามีกิจกรรมจำนวนมาก ในการให้การศึกษา และพัฒนาคนมีหลากหลายโครงการ
หลักสำคัญของการแก้ไขการทุจริตด้วยการส่งเสริมธรรมาภิบาล ไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ตามแผนชาติฉบับที่ ๑๒ เราจะทำให้ประเทศของเราไร้การทุจริต มีความปลอดภัย ด้วยคำกล่าว่า ” ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต ” ฮ่องกงแก้ไขการทุจริตสำเร็จผลนั้น เริ่มจากการป้องกันมิใช่ปราบปราม ไทยเราจะป้องกันการทุจริตทั้งระบบ ส่งเสริมการมีธรรมาภิบาลทุกภาคส่วน ” เราจะสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ” เห็นการทุจริตต้องออกมาต่อต้าน ปัจจุบันเรายอมรับการทุจริตถ้าตนเองได้ประโยชน์นั้น เราจะป้องกันจะการทุจริตเชิงรุก มหาจุฬาจึงเหมาะมากในการส่งเสริมเยาวชน ปลูกฝังการไม่ทุจริต เริ่มตั้งแต่เด็กเยาวชน ซึ่งมหาจุฬาส่งเสริมมาตลอด และทุกส่วนมีการป้องกันการทุจริตอย่างเป็นระบบ
งบประมาณในการขับเคลื่อนเครือข่ายการป้องกันการทุจริต จำนวน ๒,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อนำมาส่งเสริมการศึกษา ข้าราชการที่ร่ำรวยผิดปกติ ปีนี้เรายึดมาได้ จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท เราจะสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายต่างๆ การให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐ คนให้สินบนต้องได้รับโทษด้วย ผู้รับสินบนก็รับโทษ “ลงโทษทั้งผู้รับและผู้ให้” คนชี้แหล่งเบาะแสก็ได้รับการคุ้มครอง เจ้าหน้าที่ของภาครัฐระดับสูง ต้องแจ้งทรัพย์สินของตนเอง เพื่อเป็นการป้องปราม ปัจจุบันคนที่ทำงานปราบปรามการทุจริตยังไม่มีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน
ทำอย่างไรจะทำให้การทุจริตหายไปจากสังคมไทย ความคาดหวังของป.ป.ช. คือ ” การป้องกันเท่านั้น” มหาจุฬามีการฝึกอบรมพระสงฆ์หลายหมื่นรูป ในการออกไปให้การศึกษาเยาวชนด้านคุณธรรมจริยธรรม ความหวังของปปช. คือ การป้องกันการทุจริต ขอบคุณมจร.ในการที่จะจะร่วมทำงานเป็นเครือข่ายภาคีร่วมกันในครั้งนี้…