มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

“สสส. หนุน มจร จับมือภาคี จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังความเห็นผู้มีประสบการณ์เข้าถึงกองทุนหลักประกันสุขภาพ หวังพัฒนาพระสงฆ์เพื่อสร้างสุขภาวะองค์กรสู่ชุมชนสุขภาวะอย่างยั่งยืน”

2,540

วันนี้ (28ม.ค.63) ที่ห้องประชุมชั้นล่าง อาคารมวก. 48 พรรษา มจร วังน้อย พระนครศรีอยุธยา มจร จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังความเห็นผู้มีประสบการณ์ในการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในระบบสุขภาพเพื่อสังคมสุขภาวะผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่” โครงการนี้สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

การนี้พระเทพเวที,รศ.ดร. (พล อาภากโร,ป.ธ.9) ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะภาค ๖ และรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มจร ได้มอบหมายให้ พระมหาราชัน จิตฺตปาโล,ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต เป็นประธานเปิดงาน ท่านได้กล่าวต้อนรับมีใจความสำคัญว่า “….ขออนุโมทนาคณะสงฆ์และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เขามาสนับสนุนงานกิจการคณะสงฆ์ ในนามพระเดชพระคุณพระเทพเวที ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความขอบคุณและอนุโมทนาอย่างยิ่ง  การที่ทุกท่านมีประสบการณ์ตรงและให้เกียรติมาร่วมเวทีครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในระบบสุขภาพเพื่อสังคมสุขภาวะผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

โครงการฯ นี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)   มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ

  1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์และค้นหาตัวแบบการขับเคลื่อนงานดูแลสุขภาวะองค์กรสงฆ์และชุมชนผ่าน กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
  2. เพื่อพัฒนาผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะให้พระสงฆ์ดูแลสุขภาวะองค์กรสงฆ์และชุมชนผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แบบมีส่วนร่วม และ
  3. เพื่อส่งเสริมให้คณะสงฆ์ในพื้นที่ต้นแบบเป็นแกนนำการขับเคลื่อนให้เกิดองค์กรสุขภาวะสู่การสร้างสังคมสุขภาวะภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

ประธานได้กล่าวแนะนำมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สถาปนาโดยล้นเกล้าราชการที่ 5 มีปณิธานว่า “เป็นสถานศึกษาพระไตรปิฏกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์” จากการรายงานของผู้จัดการโครงการฯ เบื้องต้น การประชุมในวันนี้จึงมีความสำคัญที่ทุกท่านให้เกียรติสละเวลามาร่วมเวทีจะได้ช่วยวิเคราะห์สถานการณ์และค้นหาตัวแบบการขับเคลื่อนงานดูแลสุขภาวะองค์กรสงฆ์และชุมชนผ่าน กปท. และนำไปสู่การดำเนินการเพื่อเป้าหมายสำคัญในวันนี้ เกิดความรู้และนวัตกรรมการขับเคลื่อนงานสุขภาวะพระสงฆ์ และหวังใจอย่างยิ่งว่าการดำเนินการจะทำให้เป้าหมาย 3 ประการที่กำหนดไว้ คือ (1) ตัวอย่างเมนูโครงการฯ (2) คู่มือการบริหารจัดการโครงการ “ขอกล่าวคำว่ายินดีต้อนรับทุกท่านในฐานะเจ้าบ้าน ขอกราบขอบคุณครูบาอาจารย์ทุกรูปและอนุโทนาภาคีทุกท่าน”

กิจกรรมมีการบรรยายหัวข้อ เรื่อง “ารพัฒนาสุขภาวะพระสงฆ์ภายใต้แผนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา”โดย พระมหาประยูร  โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี และการเสวนา     หัวข้อ เรื่อง “บทบาทของหน่วยงานภาคีเครือข่าย ความเชื่อมโยง และความร่วมมือในการพัฒนาสังคมสุขภาวะผ่านใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่” ดำเนินรายการโดย นายวิสุทธิ  บุญญโสภิต (พี่โต) รองผอ. สปสช. เขต 3 นครสวรรค์โดยมีผู้ร่วมเสวนา 8 ท่าน คือ (1) พระครูอมรชัยคุณ วัดอาศรมธรรมทายาท นครราชสีมา (2)  พระมหาบวร ปวรธมฺโม วัดบุญนารอบ นครศรีธรรมราช (3) นายเสน่ห์ คล้ายบัว ผอ.รพ.สต.ปลายบาง นนทบุรี (4) นายอภิชาต หงษาวงษ์ ผู้แทนหน่วยร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน (5) นางรำพัน แสงมาลัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอธวัชบุรี ร้อยเอ็ด (6) นายพูนชัย ไตรภูธร ผู้แทน สปสช. เขต 9 นครราชสีมา (7) นางสาววันรพี สมณช้างเผือก ผู้แทน สปสช. เขต 8 อุดรธานี (8) ดร.ชัยยันต์ กองอรรถ ปลัด อบต.เกยไชย นครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีผู้แทนสำคัญอาทิ พระครูนนท์วีรวัฒน์ เจ้าคณะตำบลมหาสวัสดิ์ และเจ้าอาวาสวัดโคนอนมหาสวัสดิ์ พระครูโสภณประสิทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดม่วงสระน้อย และเจ้าคณะตำบลตะขบ เขต 3 พระจิรศักดิ์ สญฺญจิตฺโต เลขานุการเจ้าคณะอำเภอธวัชบุรี พระครูวิบูลสรภัญ รองเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น แพร่ และนายชวาล แก้วลือ รองปลัดเทศบาลตำบลเกาะคา ลำปาง เป็นต้น ร่วมเวที

 

และในช่วงบ่ายมีกิจกรรม เวที “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังความเห็นจากผู้มีประสบการณ์ 9 พื้นที่ต้นแบบ”ดำเนินรายการ  โดย นางสาวมณีมัญช์  เชษฐสกุลวิจิตร รองผู้อำนวยการกองกลาง และคณะ นำกระบวนกรเพื่อชี้ชวน ใน 4 ประเด็น คือ  (1) องค์ความรู้ และนวัตกรรม (2) ระบบบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล (3) ภาคีเครือข่ายการทำงาน  (4) เหตุปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ โดยแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มพระสงฆ์ (2) กลุ่ม PM เขต สปสช. ที่ดูแลงานกองทุนระดับพื้นที่ (3) ผู้บริหารกองทุนในระดับพื้นที่จาก อปท. (4) ผู้ทรงคุณวุฒิและภาคีเครือข่าย

 

และกิจกรรมท้ายสุดก่อนปิดการสัมมนา คือ กิจกรรม “รับฟังความเห็นและพิจารณา”  (ร่าง) คู่มือเมนูโครงการสำหรับพระสงฆ์ในการดูแลสุขภาวะองค์กรสู่ชุมชนสุขภาวะผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และ (ร่าง) คู่มือการบริหารจัดการโครงการฯ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ปฏิธรรม สำเนียง อาจารย์ประจำวิทยาเขตนครสวรรค์ การนี้มีผู้แทนคณะสงฆ์,PM เขต สปสช. ที่ดูแลงานกองทุนระดับพื้นที่หรืองานพระสงฆ์,ผู้บริหารกองทุนในระดับพื้นที่จาก อปท.,ผู้ทรงคุณวุฒิ และภาคีเครือข่าย จำนวน 69 รูป/คน เข้าร่วมเวที หวังร่วมกันขับเคลื่อนงานพัฒนาพระสงฆ์เพื่อสร้างสังคมสุขภาวะผ่านกองทุนตำบล เชื่อวัดและพระสงฆ์เป็นศูนย์รวมจิตใจในชุมชน เมื่อพระสงฆ์ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชุมชนสุขภาวะอย่างยั่งยืนต่อไป