มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระราชวรมุนี รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต นำผู้แทนคณะทำงานโครงการธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ เข้าถวายรายงานความก้าวหน้าโครงการฯ แด่ พระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคม

23659199_1981716672106122_5116634840294957572_n 23517940_1981716695439453_3891212238006916475_n 23518986_1981716782106111_2660599825537732699_n 23473172_1981716895439433_4280721444912907341_n 23472961_1981716938772762_5174675318956262610_n 23518952_1981716988772757_14232048013754289_n

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เมื่อวันที่15 พ.ย.2560
พระราชวรมุนี รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต ประธานคณะทำงานและนายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ประธานคณะขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ นำผู้แทนคณะทำงานโครงการธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ เข้าถวายรายงานความก้าวหน้าโครงการฯ แด่ พระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคมและประธานฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ ในช่วง เวลา 12.30-14.00 น. ณ วัดยานนาวา และเข้าพบพระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม และอธิการบดี มจรเวลา15.00-17.00 น. ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระราชวรมุนี ประธานคณะทำงานฯได้ถวายรายงานโดยสรุปว่า สืบเนื่องจากที่ประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่7/2560 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2560 ได้มีมติมหาเถรสมาคมที่191/2560 เรื่อง พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ โดยให้ดำเนินการจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ โดยมอบหมายให้พระพรหมวชิรญาณ และพระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นที่ปรึกษา

การนี้เพื่อสนองมติดังกล่าวมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยพระพรหมบัณฑิต ได้มีคำสั่งมหาวิทยาลัยที่769/2560 แต่งตั้งคณะทำงานโครงการจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ มีพระราชวรมุนี รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต เป็นประธานฯ มีคณาจารย์ มจร ผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรภาคีที่เกี่ยวเป็นกรรมการ มีอาจารย์ เจ้าหน้าที่ มจร และสช.เป็นคณะเลขานุการ โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

การดำเนินงานได้มีการประชุมคณะทำงานวิชาการยกร่างธรรมนูญฯ จัดทำแผนกิจกรรมดำเนินงาน และจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ 4 ภาคสงฆ์มหานิกาย และ 1 ภาคคณะสงฆ์ธรรมยุต โดยใช้หลักการ “ใช้ทางธรรมนำทางโลก” ที่พระพรหมบัณฑิตเมตตาให้หลักการไว้ ซึ่งคณะทำงานได้ยึดเป็นการสำคัญในการดำเนินงาน โดยมีเป้าประสงค์สำคัญ 3 ประการ คือ (1) พระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเองตามพระธรรมวินัย (2) ชุมชนและสังคมกับการดูแลอุปัฎฐากพระสงฆ์ที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย (3) บทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม รวมถึงการขับเคลื่อนธรรมนูญฯ สู่การปฏิบัติ

การจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ มีทั้งหมด 5 หมวด โดยสอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญข้างต้น รวมถึงการสนับสนุนของภาครัฐและองค์การภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ(1) สิทธิประโยชน์พื้นฐานในระบบหลักประกันสุขภาพ (2)ระบบการตรวจสุขภาพ (3) พระอาสาสมัครสาธารณสุขประจำวัด(พระอสว.) หรือพระคิลานุปัฎฐาก และ(4) กองทุนสุขภาพพระสงฆ์ระดับชาติ

ทั้งนี้ในการขับเคลื่อนธรรมนูญฯ ได้ยึดโยงกับโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ โดยคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ทั่วประเทศ สถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ และเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนา โดยการสนับสนุนขององค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

ในการนี้พระเดชพระคุณทั้ง 2 ได้เมตตาให้คำแนะนำถึงแนวทางการประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ และแนวทางในการขับเคลื่อนธรรมนูญฯเพื่อความยั่งยืน นับเป็นสิริมงคลแก่คณะทำงานเป็นอย่างยิ่ง